บทคัดย่อ
ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน
วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ผู้วิจัย นางศิริวรรณ เหมะจันทร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
ปีที่ศึกษา 2560
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและ เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชรจำนวน 240 คน เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของแรงจูงใจในกาเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และกลุ่มตัวอย่างที่สองเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร ที่มีคะแนนแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาจำนวน 8 คน เพื่อเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม
ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้
1. การวิเคราะห์ประกอบเชิงยืนยันแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า โมเดลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ความเชื่อมั่นในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โมเดลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนี้ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถวัดองค์ประกอบของแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้
2. การให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 3 ขั้น ตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นการให้คำปรึกษา ขั้นดำเนินการให้คำปรึกษา และขั้นยุติการให้คำปรึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
3.แรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม ก่อนเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม หลังเข้าร่วมการให้กลุ่ม และหลังการติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น