|
|
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมาย ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ ของรูปแบบ การจัดทำร่างรูปแบบการนิเทศ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จากโรงเรียนสังกัด อบจ.มหาสารคาม ทั้งหด 20 โรงเรียน ๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 100 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 4 โรงเรียน ๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 20 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึก การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เลือกทำการทดลองที่ โรงเรียนนาข่าวิทยาคม ประชากร ได้แก่ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 7 คน และครูผู้สอน จำนวน 35 คน รวมทั้งหมด 43 คน นักเรียน จำนวน 751 คน รวมประชากรทั้งหมด 794 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง นักเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน จำนวน 232 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 247 คน เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ฝ่ายบริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน รวมทั้งหมด จำนวน 20 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ ของครูส่วนมากเกิดจากครูผู้สอนที่ไม่เข้าใจหลักสูตร เกิดจากพฤติกรรมของผู้เรียนที่ไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ขาดแรงจูงใจทางการเรียน ขาดความเอาใจใส่ กำกับ นิเทศติดตามของผู้บริหาร และการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ของครู
2. รูปแบบการนิเทศแบบ พีไอพีอาร์อี (PIPRE) ประกอบด้วย กระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การให้ความรู้ 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย (1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (2) การสังเกตการสอน (3) การประชุมหลังการสังเกต การสอน 4) การสะท้อนคิด และ 5) การประเมินผล โดยมีการกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า มีคุณภาพ มีองค์ประกอบครบถ้วน สมบูรณ์
3. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศแบบ พีไอพีอาร์อี (PIPRE) โดยการนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่า (1) ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา อยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8529 คิดเป็นร้อยละ 85.29 (2) ครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.8507 คิดเป็นร้อยละ 85.07 สมรรถภาพในการสอนคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละเฉลี่ย 85.49) และ ความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.68, S.D. = 0.60) (3) นักเรียนทุกทุกห้องเรียน ที่ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง มีผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการสอนคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนของครู ผู้รับการนิเทศ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ด้านผลกระทบ ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และด้านความคุ้มค่าของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60
|
โพสต์โดย นงเยาว์ : [27 ส.ค. 2561 เวลา 08:05 น.] อ่าน [4858] ไอพี : 180.183.23.147
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 23,213 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,324 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,533 ครั้ง
| เปิดอ่าน 259,857 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,568 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,537 ครั้ง
| เปิดอ่าน 21,860 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,157 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,949 ครั้ง
| เปิดอ่าน 107,929 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,979 ครั้ง
| เปิดอ่าน 31,040 ครั้ง
| เปิดอ่าน 47,244 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,079 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,225 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 20,989 ครั้ง
| เปิดอ่าน 3,103 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,126 ครั้ง
| เปิดอ่าน 462 ครั้ง
| เปิดอ่าน 1,752 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|