ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาและผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ส่งเสริมการอ่าน
ชุดนิทานอีสปคำกลอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้รายงาน พรเพ็ญ รวมสิน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๕ ทานสัมฤทธิ์
สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) พัฒนาแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book ) ส่งเสริม
การอ่าน ชุดนิทานอีสปคำกลอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book ) ส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานอีสปคำกลอนก่อนเรียนและหลังเรียน และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๕ ทานสัมฤทธิ์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากโดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book ) ส่งเสริมการอ่านชุดนิทานอีสปคำกลอน จำนวน 6 ชุด ที่มีความเหมาะสมมาก ( ) 4.34 แผนการจัดการเรียนรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book ) จำนวน 14 แผน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ( ) 4.76 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 3 ตัวเลือก ที่มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.23-0.80 ค่าอำนาจจำแนก ( B ) ระหว่าง 0.27 ถึง 0.67 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ( rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 1.80-3.92 และความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดนิทานอีสปคำกลอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษา ปรากฏผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานอีสปคำกลอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.42/86.17
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานอีสปคำกลอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนก่อนเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ต่อการเรียนรู้ด้วยด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานอีสปคำกลอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53)