ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหา
ความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นายคงศักดิ์ แก้วกัณหา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ความมุ่งหมายทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยการจับสลากมา 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน ชุดฝึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ .20 ถึง .80 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .29 ถึง .75 และมีค่าความเชื่อมั่น (KR20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.75 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 4 ประเมินรูปแบบการประเมิน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินรูปแบบการประเมินการจัดการศึกษาแบบคู่ขนานในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกลุ่มเดี่ยวกันกับที่ทดลองใช้รูปแบบฯ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบหลัก 1) เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement Phase) 2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase) 2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation Phase) 2.4 ขั้นขยายความรู้ (Expansion Phase) และ 2.5 ขั้นประเมิน (Evaluation Phase) 3) วิธีการประเมินการจัดการเรียนรู้ 4) เกณฑ์การประเมินการจัดการเรียนรู้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบที่มี 4 องค์ประกอบหลัก 1) เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement Phase) 2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase) 2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation Phase) 2.4 ขั้นขยายความรู้ (Expansion Phase) และ 2.5 ขั้นประเมิน (Evaluation Phase) 3) วิธีการประเมินการจัดการเรียนรู้ 4) เกณฑ์การประเมินการจัดการเรียนรู้
3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนเข้าสอบทั้งหมด 45 คน ได้คะแนนรวมจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนทั้งหมด 1564 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 1800 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 86.89 และนักเรียนมีคะแนนรวมจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน 717 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 1800 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 39.83 ของคะแนนเต็ม
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.63, S.D.=0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.74 , S.D.= 0.43) รองลงมาคือ ด้านความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D.=0.51) ด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62, S.D.=0.52) ส่วนด้านความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54 , S.D.=0.52) ตามลำดับ ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบPISA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1