ชื่องานวิจัย การพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความจากสื่อต่าง ๆ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
ผู้รายงาน นางกำไร กรแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนาอินวิทยาคม
ปีที่ทำการพัฒนา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
วิจัยนี้ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความจากสื่อต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 12 คน ให้มีความก้าวหน้าในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนที่ต้องการพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอ่านขั้นสูงต่อไป โดยใช้เครื่องมือได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความจำนวน 3 ชุด แบบบันทึกข้อมูลการอ่านจากแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ แบบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ แบบการเขียนสื่อความ รวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน แล้วดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่กำหนดไว้จำนวน 15 คาบเรียนในเรื่องการอ่านเรื่องจากสื่อต่างๆ แล้วนำมาเขียนสื่อความจากเรื่องที่อ่านได้ โดยในแต่ละคาบให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกทักษะการอ่าน หลังจากดำเนินการสอนเสร็จสิ้นแล้วได้ทดสอบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียนด้วยแบบทดสอบชุดเดิม จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบการพัฒนาความก้าวหน้าของนักเรียนในการอ่านที่กำหนดให้พบว่านักเรียนมีพัฒนาการก้าวหน้าในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความโดยได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังจากนั้นนักเรียนได้เรียนรู้หลักการอ่าน ได้ฝึกทักษะการอ่าน เป็นจำนวน 15 ครั้ง 15 คาบเรียน โดยในแต่ละคาบนักเรียนได้ทำแบบฝึกการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ เมื่อเสร็จสิ้นได้ ดำเนินการทดสอบหลังเรียน นักเรียนมีการพัฒนาในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความดีขึ้นทุกคนโดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
จุดประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาทักษะในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่าน และเพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาการการเรียนในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ให้มีความก้าวหน้า ในการอ่านคิดวิเคราะห์ของโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่ขาดทักษะการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนสื่อความ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอ่านโดยทั่วไป
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. แหล่งข้อมูล
2. วิธีการเก็บข้อมูล
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
แหล่งข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 12 คน ที่ต้องพัฒนา ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความในการอ่านคิดวิเคราะห์ของก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
2. ดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่กำหนดไว้จำนวน 15 คาบเรียน ในเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของบทความที่กำหนดให้ โดยในแต่ละคาบให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกทักษะ การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ซึ่งดำเนินการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านเรื่องจากสื่อ ต่าง ๆ
3. หลังจากดำเนินการเรียนการสอนและการฝึกทักษะการอ่านเสร็จสิ้นแล้วทดสอบความสามารถใน การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียนด้วยแบบทดสอบชุดเดิม
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
1. แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของจำนวน 3 ชุด
2. แบบบันทึกข้อมูลการอ่านจากแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ
3. แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนและหลังการเรียน แล้วหาค่าร้อยละเปรียบเทียบ การพัฒนาความก้าวหน้าของนักเรียนในการอ่านคิดวิเคราะห์ของเรื่องที่กำหนดให้
ผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลจากการวิจัย นักเรียน มีการพัฒนาทางด้าน การอ่านคิดวิเคราะห์และ การสรุปการอ่านจับใจความ และก้าวหน้าใน การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความดีขึ้นทุกคนโดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้
1.การทำวิจัยนี้ควรทำกับนักเรียนกลุ่มนี้ต่อไปในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อดูผลพัฒนาที่ต่อเนื่องกับนักเรียนกลุ่มเดิม
2.ควรมีระยะเวลาในการวิเคราะห์มากกว่านี้