ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายเฉลิมฤทธิ์ สมพงษ์
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประทาย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษา ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทาย มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการปฏิบัติงาน การลงมือทำ ทักษะการคิด โดยเฉพาะการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การแก้ปัญหาที่ได้มาจากกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานหรือกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สิ่งสนับสนุน และ องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญในการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมของกลุ่ม (Social Group) ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหา (Identifying the problem) ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบ วางแผนแก้ปัญหา (Solution Design) ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา (Development) ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงานด้วยสื่อเทคโนโลยี (Presentation) ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผล และปรับปรุง (Evaluation and Improvement) ขั้นตอนที่ 7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.20/82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 , S.D. = 1.41)