ชื่อผลงานวิชาการ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยบูรณาการกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมประจำใจ ของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ผู้รายงาน นายเกรียงไกร วุฒิมานพ
หน่วยงาน โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมประจำใจ ของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 1.)เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2. ) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 3.) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ 4. ) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการในเรื่องต่อไปนี้ 4.1 คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 10 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความมีสติและละเอียดรอบคอบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ความสุภาพ ความยุติธรรม ความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และความสามัคคี 4.2 ความรู้หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการโดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ 1.) ครู จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก 2.) นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก 3.) ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมประจำใจประจำใจ ของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 4 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อบริบทของโครงการ ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ ชุดที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการ ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 12 ข้อ ชุดที่ 3 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานตามโครงการข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ ชุดที่ 4 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลผลิตของโครงการ ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. บริบทของโครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = 0.48 ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 10 ข้อ และระดับมาก 2 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, = 0.50 ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และระดับมาก 5 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีแผนการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
3. กระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55 , = 0.49 ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และระดับมาก 6 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการ อย่างชัดเจนและเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการให้ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4. ผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 , = 0.47 ) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความรับผิดชอบ ความมีสติและละเอียดรอบคอบ และความสามัคคี มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความสุภาพ ส่วนคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 , = 0.49 ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 8 ข้อ และระดับมาก 2 ข้อ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเวลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน เมื่อเรียงลำดับคุณธรรมจริยธรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้คือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความมีสติและละเอียดรอบคอบ ด้านความสามัคคี ด้านความมีวินัย ด้านความยุติธรรม ด้านความขยัน ด้านความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ด้านความซื่อสัตย์ และความสุภาพ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ