ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย
เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี
ผู้วิจัย นางทิพวรรณ์ อุทธา
ปีที่พิมพ์ 2558
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีทักษะทางสังคมก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดเทพมงคล อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 27 คน ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี จำนวน 15 แผน คู่มือการเล่นเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 15 เกม แบบวัดพฤติกรรมการมีทักษะทางสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และแบบประเมินความพึงพอใจของของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี มีประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/E2) 90.74/87.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี เท่ากับ 0.6902 หมายความว่า เด็กมีความก้าวหน้าของทักษะทางสังคม เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 69.02
3. ผลการเปรียบเทียบการมีทักษะทางสังคมก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี ผลการวัดหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้คะแนนสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี โดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก