สุมาลี แกนภูเขียว : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 2 บ้านบุ่งไสล่ โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 2 บ้านบุ่งไสล่ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียน ก่อนเรียน และ หลังการจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิกประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังกราฟิกประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 2 บ้านบุ่งไสล่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Paired Samples t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดโดยการจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิกประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 83.16 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.10 ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดโดยการจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงมีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 83.16/81.10 ซึ่งสูงกว่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้ ( = 24.15, S.D. = 1.09) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้ ( = 17.00 , S.D. = 1.46)
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียน ก่อนเรียน และ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย = 17.00, ค่า S.D. = 1.46 ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย= 13.03, และค่า S.D. = 1.47 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 2 บ้านบุ่งไสล่ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบผังกราฟิก ประกอบชุดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่า = 4.58 และมีค่า S.D. = .63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อ 19 วิธีการวัดผลประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนมีความเหมาะสมและหลากหลาย และ ข้อ 20 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความสามารถในกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมีค่า = 4.79, ค่า S.D. เท่ากับ .42 รองลงมาคือ ข้อ 8 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนสนใจอยากจะเรียนมากขึ้น มีค่า = 4.73, S.D. = .52 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ข้อ 1 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนเรียนทุกครั้ง มีค่า = 4.39, S.D. = .52