บทคัดย่อ
เรื่องที่วิจัย การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายวิชัย ทัดเทียม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนเทศบาล 1 (วัดเจียงอี) สังกัด
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและประเมินรูปการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน : กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน : กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน : กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 (R1) การสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 (D1) การสร้างและประเมินรูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 (R2) การทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และขั้นตอนที่ 4 (D2) การประเมินรูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบดัวย 1) ครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน กรรมการสถานศึกษาจำนวน 5 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 1 คน โดยเลือกวิธีสุ่มแบบวิธีสุ่มแบบง่าย (simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจสภาปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนของครูกลุ่มสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านทักษะการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นมีค่ามากที่สุด (x ̅ = 4.00) รองลงมา คือ ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน (x ̅ = 3.97) และด้านการจัดทำแผนการสอนกับด้านการส่งเสริมหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x ̅ = 3.95) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ (x ̅ = 3.89) ด้านการวัดผลและประเมินผล (x ̅ = 3.89) ด้านการจัดเนื้อหาวิชา
(x ̅ = 3.70) ตามลำดับ
2. ผลการสร้างรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
2.1 รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนการสอนภายใต้ชื่อหรือสัญญาลักษณ์
KE-P-GMA Model
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 ทุกด้าน แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมโดยรวมทุกองค์ประกอบของรูปแบบที่จะนำไปใช้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน
3. ผลการทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ 85.36/83.18 ตามที่กำหนดไว้
3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4.1 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดเจียงอี) จังหวัดศรีสะเกษ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านประเมินผลการเรียน (x ̅ = 4.66) รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมในการเรียน (x ̅ = 4.59) ด้านบรรยากาศในการเรียน (x ̅ = 4.57) ตามลำดับ 4.2 ผลการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการใช้รูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไปผู้วิจัยนำไปสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2/3 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเจียงฮี จังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลทำให้นักเรียนมีความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงานและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้แล้วนักเรียนยังมีการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ มีการทำงานเป็นทีมและมีความรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของพวกเขา