บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริม
สมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย นางอาภัสสร เจริญศิริ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปราสาท
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาทเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่21 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 214) เพื่อประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาทเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่ม
ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 19คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านปราสาท จำนวน 17คน 2) กลุ่มเป้าหมายประกอบ ด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 17คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21คน ประกอบด้วย 3.1) ศึกษานิเทศก์พี่เลี้ยง ที่ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษาและนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4 คน 3.2) กลุ่ม
ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 17คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย(x ̅)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)ค่า Wilcoxon Signed Ranks Testและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู
โรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่ากฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 8 (3) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แนวคิดปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม แนวคิดปรัชญา Constructivismทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้นส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนคือ ขาดความรู้ความเข้าใจไม่ได้รับการพัฒนาในด้านสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 จากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 2.การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและพัฒนาได้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาทเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21(CHANGE Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก6 ขั้น ได้แก่ขั้นที่ 1Context Analysis : C การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ขั้นที่ 2 Hierarchy : Hการจัดระบบตามลำดับขั้นที่ 3Adjustment : Aการปรับเปลี่ยนขั้นที่ 4 Novelty : N การเพิ่มประสบการณ์ใหม่ ขั้นที่ 5Gratixication : Gความพึงพอใจขั้นที่ 6Examination : E การตรวจสอบ 3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า 3.1 การประเมินผลการฝึกอบรมพัฒนาบุคลกรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่21 อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅= 4.61 , S.D = 0.49) 3.2 การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่21 (CHANGE Model) (x ̅ = 34.29, S.D. = 3.22 ) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 (CHANGE Model) (x ̅= 18.00 , S.D. = 3.15) 3.3 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับ สูงมาก (x ̅ = 4.78, S.D. = 0.44) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2 3.4 การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับสูงมาก(x ̅ = 4.67,S.D. = 0.48) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 4.การประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า 4.1ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 (CHANGE Model) โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅ = 4.76,S.D. = 0.42 ) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3 4.2ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกัน โดยผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์
พี่เลี้ยง ผู้บริหารและผู้รับการอบรม สรุปว่า รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปราสาท เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 (CHANGE Model) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางานและองค์ความรู้ โดยครูต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยความเต็มใจร่วมมือกันมีความรับผิดชอบในการทำงานและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรครูให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจให้กับครู เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ