ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้
5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางธัญพัชจ์ บุญเข็ม
ผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
ผศ.ดร.นายมนตรี ทองมูล
ผศ.ดร.กฤษกร ปาสาใน
ดร.วิทยา แสงคำไพ
นางกัญญารัตน์ ทิพแสง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติจริง จนเกิดทักษะและความชำนาญในการเรียนรู้ พัฒนาความสามารถในการคิด การเปรียบเทียบ การให้เหตุผล ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้
5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการ
สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรก
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ครอบคลุมทุกเนื้อหาสาระ ซึ่งข้อสอบมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.25-0.78 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.210.75 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.87 และ 3) แบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.360.73 และได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E)
โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.02/78.28 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6906 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.06
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง
การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E)
โดยบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล ช่วยให้นักเรียนมีความรู้สูงขึ้น มีความมุ่งมั่นในการเรียน ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป