ชื่อเรื่อง โครงการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลเทศบาล
ตำบลป๊อกแป๊ก เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี
ผู้เขียน นางบุญช่วย บุญอาจ
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งใช้การประเมินรูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) การประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก ปีการศึกษา 2559 จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ในภาพรวมการประเมินการประเมินโครงการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี วิเคราะห์ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมมีคุณภาพระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นครูผู้สอน มีคุณภาพระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อจำแนกตามแต่ละด้านของโครงการคือ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม ปรากฏว่าด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน 2)ด้านปัจจัยนำเข้า ปรากฏว่าด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน 3) ด้านกระบวนการ ปรากฏว่าทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน 4) และด้านผลผลิต ปรากฏว่าด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน