ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ผู้ศึกษาค้นคว้า ว่าที่ร้อยตรีพีร์ระวัชล์ ดอนมงคล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหาดรั่ว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความมั่นใจ ในการทำงาน ได้ฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสาร พัฒนาทักษะทางสังคม มีการวางเป้าหมายของกลุ่มก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มมีคะแนนสูงขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ
1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิค STAD และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านหาดรั่ว ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหาดรั่ว อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 9 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนรู้
ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 18 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ได้ค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.57 0.80 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.25 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.3 6 - 0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.22/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหาดรั่ว มีระดับความพึงพอใจ
ต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , S.D. = 0.48)
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้
ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้สามารถพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น