ผู้วิจัย พวงลักษ์ เผ่าต๊ะใจ
สถานที่วิจัย โรงเรียนเทศบาล 3 (หล่ายอิงราษฎร์บำรุง) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยศึกษาผลการใช้จาก 3.1) การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล3 (หล่ายอิงราษฎร์บำรุง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเรียนที่ 1 การศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ผลการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งเสริมทักษะกระบวนการและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ออกแบบการเรียนการสอนให้มีระบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด โดยเฉพาะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนมีความสุขและมีความพึงพอใจในการเรียน ผลการศึกษารูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนที่นักเรียนและครูต้องการคือรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการฝึกทักษะการคิดของอย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า RPLPSAE Model โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Reviewing Knowledge Step : R) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจ (Preparing and Motivating Step : P) ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Learning Thinking by Practice Step : L) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation of Learning Task Step : P) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing Step : S) ขั้นที่ 6 ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process Step : A) ขั้นที่ 7 ขั้นประเมินผล (Evaluating Step : E) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆ ของรูปแบบการเรียนการสอน ที่ระดับความเหมาะสมมาก (x̄ = 4.44) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.01/83.96 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และศึกษาผลการใช้ดังนี้
3.1 ผลความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.64) ทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต