รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนรัตภูมิวิทยา 3) ความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนรัตภูมิวิทยา 4) ความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินการโครงการ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 6) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน 52 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 727 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 727 คนและกลุ่มประชากรคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .83-.95 และอีก 3 ฉบับ เป็นแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2560 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.44, S.D. = 0.34) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.38,  = 0.46) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, S.D. = 0.45) ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.52, = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70 , S.D. = 0.34) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.89 , S.D. = 0.26) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านการดำเนินการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.70, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้าน ติดตามและประเมินผล ( = 4.57, S.D. = 0.43) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการนิเทศภายในของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.66 , S.D.= 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด ( = 4.80 , S.D.= 0.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.73 , S.D. = 0.36) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 4.52 , S.D.= 0.50) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนรัตภูมิวิทยา ตามความคิดเห็นคณะกรรมการนิเทศภายในพบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.56 , . = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.59 ,  = 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.57 , . = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ด้านการวัดและประเมินผล ( = 4.50 ,  = 0.47) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2560 โดยรวมพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.60 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.56 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.51 , S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการนำผลการนิเทศภายในมาปรับปรุงวิธีการสอนของครูและบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.77 , S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการวิธีการนิเทศภายในมีความสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้รับการนิเทศ ค่าเฉลี่ย ( = 4.69 , S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการกำหนดผู้รับผิดชอบในแผนปฏิบัติงานการนิเทศภายในอย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.25 , S.D. = 0.56) มีค่าเฉลี่ต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 2.70 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 ตามสภาพจริง โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับ ดี ดีมาก ร้อยละ 95.67 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 ตามสภาพจริง โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดี ดีมาก ร้อยละ 91.15 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนกาเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2560โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการนิเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่คุณภาพนักเรียน ด้วยกระบวนการนิเทศภายในเป็นโครงการต่อเนื่องและต้องดำเนินการทุกปี โดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพ ของเดมมิ่ง (P-D-C-A) มาเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. โรงเรียนควรพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัด และมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2. ควรทำการวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพของชุมชนในโรงเรียนและองค์กรเครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนในโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
3. ควรมีการวิจัยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ มีผลต่อการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนหรือไม่