ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับ
เทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะ
กระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางกัลยาวีร์ เอกวารีย์ โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิด
แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ นักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ในห้องเรียนเดียวกัน จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้มี 8 ชนิด ประกอบด้วย แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินร่างรูปแบบการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ ttest (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
1.1 ผลจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีพบว่า ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivist Learning Theory ) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้จะให้โอกาสผู้เรียนได้สร้างความรู้จากความรู้ที่มีมาก่อน เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่และเข้าใจจากประสบการณ์จริง ดังนั้นผู้วิจัยสังเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีแนวคิดหลักการดังนี้ 1.) หลักการสอนที่บูรณาการ 1.1) ศาสตร์ทุกศาสตร์ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของคนที่ต้องดำรงอยู่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวม การจัดให้เด็กได้ฝึกทักษะและเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันจะทำให้การเรียนรู้มีความหมายสอดคล้องกับชีวิตจริง 1.2) การเรียนแบบบูรณการทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด ประสบการณ์ความสามารถและทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลายก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อม ๆ กัน 2.) หลักการแนวคิดแบบเปิด 2.1) การเรียนรู้จะเกิดได้ดีเมื่อนักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้ 2.2) การเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ เรียนรู้จากธรรมชาติและสัมพันธ์กับชีวิตจริง 2.3) การเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเปิดใจรับฟังและนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาพิสูจน์ 3.) หลักการ การเรียนรู้แบบร่วมมือ 3.1) การเรียนรู้เกิดจากการพึงพาอาศัยกัน สมาชิกภายในกลุ่มมีการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน 3.2) มนุษย์เรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์ สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3.3) การรับผิดชอบของแต่ละคน ต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองจะทำให้การเรียนสำเร็จ 3.4) การทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดทักษะการสื่อสารการแก้ปัญหาและตัดสินใจ 3.5) กระบวนการกลุ่ม จะทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงาน การวางแผนและประเมินผลใน การทำงาน 4.) หลักการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4.1) ทำความเข้าใจปัญหา 4.2) วางแผนแก้ปัญหา 4.3) ดำเนินการตามแผน 4.4) ตรวจสอบผล
1.2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
1.2.1 ผลการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครูผู้สอนรายวิชา
คณิตศาสตร์ ที่มีต่อสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำแนกตามประเด็น 3 ประเด็น โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ครูใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ยกตัวอย่างแล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดส่งการบ้านในคาบถัดไป ครูเป็นฝ่ายป้อนข้อมูลนักเรียนรับข้อมูลและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนน้อย 2. วิธีการพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ครูควรใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นและให้แนวทางนักเรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าวิธีการและหาคำตอบด้วยตนเอง 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น กระตุ้น โน้มน้าวให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสื่อการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนได้ลงมือสร้างขึ้นด้วยตนเองและนำมาใช้ในกิจกรรม
1.2.2 ผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการจัดการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ สรุปดังนี้ 1. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ครูมีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีสื่อในกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ ครูเป็นผู้ให้แนวทางนักเรียนศึกษาค้นคว้าจึงจะเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเกิดการพัฒนาและผลสัมฤทธิ์ย่อมดีขึ้น 2. ครูควรเปลี่ยนแปลงการสอนคณิตศาสตร์ ครูไม่ควนใช้วิธีการสอนแบบบรรยายและอธิบายอย่างเดียวควรมีวิธีการและเทคนิคที่หลากหลายมีการกระตุ้นตั้งคำถามให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดหาคำตอบด้วยวิธีหรือหลักการด้วยตนเองเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ 3. ครูควรจะพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจ ท้าทายความสามารถและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ไม่ควรเน้นเพียงทักษะการคิดคำนวณแต่ควรมีการแก้ปัญหาสถานการณ์ทั่วไป เรียงลำดับขั้นตอนเรียนรู้จากความซับซ้อนน้อยไปมาก ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเลือกใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลายและนักเรียนควรได้ฝึกการแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยวอย่างสม่ำเสมอ
2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.1 รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PPGWE Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ แนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วยการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นเตรียม (Preparation : P) 2) ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation : P) 2.1 การกำหนดปัญหา 2.2 การแก้ปัญหา 2.2.1 ทำความเข้าใจปัญหา 2.2.2 วางแผนแก้ปัญหา 2.2.3 ดำเนินการตามแผน 2.2.4 ตรวจสอบผล 3) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (Group activities: G) 4) ขั้นตรวจผลงาน (Work Review : W) 5) ขั้นสรุปผลและประเมินผล (Conclusion and Evaluation : E) การวัดและประเมินผล
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยที่ผลการประเมินรูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุดทุกข้อ
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach)
ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.1) หลังการทดลองใช้รูปแบบการสอน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .05
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่บูรณาการแนวคิดแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด