ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางเกดแก้ว บุทธิจักร
โรงเรียน ทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑ วัดคำสายทอง) กองการศึกษา เทศบาลเมืองมุกดาหารจังหวัดมุกดาหาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑ วัดคำสายทอง) สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหารมีการจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียนแบบคละกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 (3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ ค่าที t- test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความสอดคล้องกับประเด็นคำถาม และ ประเด็นการสัมภาษณ์ ผลจากการสัมภาษณ์ครู พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา หาแนวทางในการแก้ปัญหาสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล โดยกิจกรรมการเรียนการสอนมี 4 ขั้น ชื่อว่า CCSC MODEL ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหาเพื่อสร้างความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองหาแนวทางแก้ปัญหา (Critical Thinking) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือแก้สถานการณ์ปัญหา (Solving Problem) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปผลการปรับโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Conceptual Change) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.74/82.11 และ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.66
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
3.1 ผลการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.52/84.37 และ ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.80
3.2 ผลการทดสอบหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการทดสอบการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
พบว่า ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. =0.48)