ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียนสื่อความ
โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางปาริชาติ มะปะเข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล ๑ กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด หน้าที่เด็กไทยใส่ใจเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องปรับวิธีสอนและนำเทคนิคการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปใช้ในการสอน ให้มีความหลากหลายให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน การศึกษาครั้งนี้มี ความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและเขียนสื่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ
การเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน และ 4) ศึกษา
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐานประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน จำนวน 10 แผน ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด หน้าที่เด็กไทยใส่ใจเรียนรู้ จำนวน 10 เล่ม มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.85 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ตอนที่ 2 แบบทดสอบชนิดอัตนัย จำนวน 1 ข้อ มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ttest (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียนสื่อความโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.62 /83.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดนใช้แนวคิดสมอง เป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.24)
4. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาที่เรียน มีทักษะ การอ่าน การเขียนสื่อความ การคิด การวิเคราะห์ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นอย่างดี กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความกระตือรือร้นและสนใจในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีคะแนนหลังจากเรียนรู้มากกว่าก่อนเรียน มีความก้าวหน้าเมื่อเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านและมีเจตคติ ที่ดีต่อการเรียน