ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่น่าอยู่
รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางพึงฤทัย กาศทิพย์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เด่นไชยวิทยา สังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดแพร่
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่น่าอยู่ รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่
น่าอยู่ รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่น่าอยู่ รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมุ่งประเมิน
ในสิ่งต่อไปนี้ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียน
ภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เด่นไชยวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน
รวมทั้งสิ้น 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่น่าอยู่ รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) ค่าร้อยละ (%)
2) ค่าเฉลี่ย ( ) 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 4) การทดสอบ ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test Dependent) และ 5) การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SPIPE Model โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนรูปแบบ การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา (Search : S) 2) วางแผนในการแก้ปัญหา (Plan : P) 3) ดำเนินการแก้ปัญหา (Implementations : I) 4) เสนอคำตอบหรือผลการแก้ปัญหา (Presentations : P) และ 5) ประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluation : E) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการสอนประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เด่นไชยวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จำนวน 50 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เท่ากับ 85.56/87.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเมืองแพร่น่าอยู่ รหัสวิชา ส22201 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3) ทักษะการแก้ปัญหาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดการเรียนรู้
ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนตามรูปแบบ
การสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด