ชื่อเรื่อง แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ผู้รายงาน นายซูไฮมีน แวโด ตำแน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง
ปีการศึกษา ๒๕๖๐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (๑) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (๒) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม ได้แก่ คำในมาตราแม่กก คำในมาตราแม่กน คำในมาตราแม่กบ และ คำในมาตราแม่กด และ (๓) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ รวม ๒๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย x̄ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการวิจัยพบว่า
๑.ผลที่เกิดกับผู้เรียน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง สามารถอ่านและเขียนคำที่ไม่ตรงมาตรา
ตัวสะกดได้คล่องขึ้น โดยสามารถอธิบายความหมายของคำและอ่านคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดได้ดีขึ้น นำไปสู่การเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดที่ถูกต้อง สามารถนำคำไปแต่งประโยคได้ถูกต้อง ทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด อยู่ในระดับที่พัฒนาขึ้น และทำให้นักเรียนมีความสนใจอยากเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น เป็นเพราะนักเรียนมีความเข้าใจทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด และเห็นความสำคัญในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเองให้มีทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อเป็นประโยชน์กับการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
๒.ผลที่เกิดกับบุคลากรทางการศึกษา
บุคลากรโรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง ที่ได้รับการเผยแพร่แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สามารถนำรูปแบบของแบบฝึกทักษะ ที่ได้รับการเผยแพร่ไปปรับใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนของตนเองได้ โดยปรับรูปแบบให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น รวมถึงบุคลากรในสถานศึกษาได้พัฒนารูปแบบสื่อ/นวัตกรรม ของตนเองให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
๓.ผลที่เกิดกับสถานศึกษาและชุมชน
สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง และชุมชน ชื่นชมครูที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ครูมีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนโดยได้ผลิตสื่อ/นวัตกรรม ที่ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนานักเรียนให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านการอ่านและการเขียนคำ ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด เป็นผลทำให้ผู้ปกครอง และชุมชนให้ความไว้วางใจสถานศึกษาและยินดี ที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนบ้านบาโงฆาดิงในรุ่นต่อๆ ไป รวมถึงชุมชนเห็นความสำคับของการศึกษา พร้อมให้การสนับสนุน ส่งเสริม ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น