ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้
เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ภูมินทร์ วงศ์พรหม
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด)
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการมีจิตสำนึกด้านดนตรีไทย และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย เพราะดนตรีไทยเป็นสิ่งที่ฝึกให้เกิดสมาธิ ช่วยให้เป็นคนรอบคอบ ช่วยให้เป็นคนใจเย็นและมีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ต่อคนรุ่นหลังและตลอดไป สนุกสนานและคลายเครียดได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า AKECSE Model มีองค์ประกอบคือใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Attention) 2) ขั้นแสวงหาความรู้ (Knowledge) 3) ขั้นอธิบายความรู้ (Explanation) 4) ขั้นปลูกจิตสำนึก (Consciousness) 5) ขั้นสรุป (Summary) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะที่ต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข มีการปฏิบัติจริง มีการทดลอง ควบคู่กับแบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 72.22/70.00 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.93/78.89 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 82.72/81.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 41 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.04/83.84 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ความเหมาะสมของการรับรองขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดนตรีไทยมีผลการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี