ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสิริมณฑน์ กัลยาณรักษ์
ปีที่ทำวิจัย 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้จากชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ จำนวน 8 ชุด แบบวัดความสามารถในการจับใจความ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ และ t-test แบบ Dependent - Samples
สรุปผลการวิจัย
1. การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 85.16/84.79 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ เมื่อนักเรียนได้รับการเรียนรู้จากชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานเป็นสื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.39 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ กิจกรรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ นักเรียนได้ช่วยเหลือกันและร่วมมือกันในการเรียน มีความสามารถในการจับใจความมากขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น นักเรียนสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถทำกิจกรรมแต่ละชุดได้ทันตามเวลา มีค่าเฉลี่ย 4.56, 4.53 และ 4.44 ตามลำดับ