ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตาม มาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสิริมณฑน์ กัลยาณรักษ์
ปีที่ทำวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาและข้อมูลพื้นฐานในการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) การประเมินผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มี 32 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ และ t-test แบบ Dependent - Samples
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาปัญหาและข้อมูลพื้นฐานในการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาที่ 3 พบว่า กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน มีความต้องการและเห็นด้วยที่จะนำกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนและการอ่านคำมาตราตัวสะกด ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R
2.ผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้รวบรวมจากคำพื้นฐานที่มีในหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 ชุด 8 หน่วย ชุดละ 2 ชั่วโมง ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R มี 6 ขั้นตอน มีผลการประเมินรูปแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R มีประสิทธิภาพระหว่างเรียน/หลังเรียน มีค่าเท่ากับ 82.95 / 85.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่กำหนดไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 92.83 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด และคะแนนทดสอบการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
4. ผลการประเมินผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ โดยแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมมากที่สุด ด้านกระบวนการ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเป็นขั้นตอนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด และการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น และด้านผลผลิต การจัดกิจกรรมตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีความสามารถการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก