ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางนุชนารถ รัตนดร ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ (ขจรเนติยุทธ) เทศบาลเมืองลำสามแก้ว
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ (1.) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ดังนี้ (2.1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ (2.2) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการการเรียนรู้ การนำแนวคิด แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการการเรียนรู้ตามแนวแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t test (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 รูปแบบการจัดการการเรียนรู้มีขั้นตอนกระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นจุดประกายการคิด (Sparkling) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจด้วยการนำสถานการณ์ หรือ ประเด็นปัญหา กระตุ้นให้เด็กคิด หรือบางครั้งครูนำเด็กออกไปออกนอกห้องเรียน สำรวจสิ่งต่างๆที่จะทำให้เกิดข้อสงสัยประเด็นปัญหา นำไปสู่การกำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ 2) ขั้นการสำรวจและค้นหา (Searching) เป็นขั้นที่ครูทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหา ด้วยการสนทนา อภิปราย ใช้คำถาม ให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาแนวทางการแก้ปัญหา และสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา ครูนำความคิดที่เด็กเสนอมาทำแผนผังความคิด (Mind-Mapping) พร้อมกับร่วมกันคาดคะเนผลที่เกิดขึ้น จากการค้นคว้าหาคำตอบ ตามที่ได้คาดคะเนไว้ 3) ขั้นร่วมกันระดมความคิด (Sharing Constructing and Creating) เป็นขั้นที่ครูแบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ให้อิสระในการเลือกเข้ากลุ่ม ให้เด็กได้มีโอกาสเข้ากลุ่มทำงานกับเพื่อนเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็น หาแนวทางหรือวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายวิธี และเลือกวิธีการที่เหมาะสมแตกต่างจากที่มีอยู่เดิมสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ แล้วจึงร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม 4) ขั้นจัดระบบความรู้ (Systemizing Knowledge) เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันออกแบบและเขียนความสัมพันธ์ของปัญหาและสาเหตุในลักษณะที่ทำให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของปัญหา สาเหตุของปัญหา วิธีแก้ปัญหา และผลที่อาจจะเกิดขึ้น สนทนาร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิด เหตุผลที่เด็กนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยเน้นให้เด็กนำความรู้ความเข้าใจจากการเรียนรู้ และการลงมือปฏิบัติ การแก้ปัญหาหรือการประยุกต์ใช้ ให้สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้อย่างเป็นระบบ 5) ขั้นสรุปและนำเสนอ (Summarizing and Presenting) เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ และร่วมกันวางแผนในการแสดงผลงานด้ายเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น จัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงนิทาน การจัดทำสารสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง การทำหนังสือเล่มเล็ก เป็นต้นและ 6) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Application) เป็นขั้นที่เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้เด็กหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิมซึ่งเด็กตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของเด็ก ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่2. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปผลการวิจัย ดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01