บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่
และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม
ผู้รับผิดชอบ อรทัย จินดาประสาน
ระยะเวลาการประเมินโครงการ พฤษภาคม 2559 – สิงหาคม 2559
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 นโยบายโรงเรียน และความต้องการความจำเป็นของโรงเรียน
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผล และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญ ในการดำเนินโครงการ
5. เพื่อประเมินผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการ เกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบในด้านบวกและด้านลบตามจุดมุ่งหมายการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ที่เกิดขึ้นก่อนโครงการ ระหว่างโครงการและหลังโครงการที่มีต่อโรงเรียน ตัวนักเรียนและผู้ปกครอง
6. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม โรงเรียนอนุบาลคีรีมาศ (วัดบึง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ดำเนินในระหว่าง พฤษภาคม 2559 – สิงหาคม 2559 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และนักเรียน จำนวน 135 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และนักเรียน จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นด้านบริบทของโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม มีระดับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและเป้าหมายโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.59)
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม มีระดับเหมาะสม/เพียงพอโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53)
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม มีระดับการปฏิบัติของการดำเนินงานของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56)
4. ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้านผลผลิตของโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม เกี่ยวกับด้านความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ มีระดับความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)
5. ด้านผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน มีความเห็นด้านผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ที่เกิดขึ้นก่อนโครงการ ระหว่างโครงการและหลังโครงการที่มีต่อโรงเรียน ตัวนักเรียนและผู้ปกครอง มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็นผลกระทบรายด้าน ดังนี้
5.1 ผลกระทบต่อโรงเรียน มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46)
5.2 ผลกระทบต่อตัวนักเรียน มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)
5.3 ผลกระทบต่อผู้ปกครอง มีระดับความสำเร็จของการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45)
6. แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ห่างไกลจากเหล้า เบียร์ บุหรี่ และสิ่งเสพติด โดยกิจกรรมโครงงานคุณธรรม โรงเรียนอนุบาลคีรีมาศ (วัดบึง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ก่อนการดำเนินโครงการ จนถึงขั้นดำเนินโครงการ ที่ได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน โรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน รวมถึงนักเรียนจนถึงขั้นผลผลิตของโครงการ พบว่า กิจกรรมโครงงานคุณธรรมควรทำควบคู่กันไประหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน โดยวัดควรจะสร้างหลักปฏิบัติให้กับนักเรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม วัดควรเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ชาวบ้านรอบ ในส่วนหน้าที่ของบ้านต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมขั้นต้นให้เกิดขึ้นกับนักเรียน คือ เรื่อง วินัย ซึ่งก็คือการปฏิบัติตนตามศีล 5 โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน ทั้งด้านการครองตน การครองเรือน และ การครองงาน ในส่วนหน้าที่ของโรงเรียนที่เป็นแหล่งสำคัญในการเรียนรู้ เพราะมีบทบาทหน้าที่ในการกล่อมเกลานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม เช่น ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ การประหยัดและอดออม ความเกรงใจผู้อื่น เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่และเสียสละเพื่อส่วนรวม ความซื่อสัตย์สุจริต และความขยันหมั่นเพียร โดยครูต้องกวดขันอย่างจริงจัง อีกทั้งผู้ปกครองควรเอาใจใส่อย่างบุตรหลานให้อยู่ในระเบียบวินัยของสังคม