ชื่อเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา
ในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางแสงเดือน ชัยยะ
สถานศึกษา โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้และเปรียบเทียบกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีกระบวนการคิดแก้ปัญหา การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทาย การสนทนากลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนประทาย การสอบถามนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนประทาย การสอบถามครู โรงเรียนประทาย และการสอบถามผู้ปกครอง แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประทาย จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ประกอบการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับรูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t - test แบบ Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม
กระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 3.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.02 ผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ทุกด้าน โดยเรียงลำดับความคิดเห็นจากน้อยไปหามาก ด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านที่ 3 ด้านการประเมินการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 2.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.02 รองลงมา คือ ด้านที่ 2 ด้านนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 3.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.03 และ ด้านที่ 3 ด้านครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 3.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.90 และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีความต้องการมากเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านที่ 3 ด้านการประเมินการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.48 อันดับที่ 2 คือ ด้านที่ 2 ด้านนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.57 อันดับที่ 3 คือ ด้านที่ 1 ด้านครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.51
2. รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ1)หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) กระบวน การเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดกติกา (R= Rules) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างศรัทธาให้ผู้เรียน (A=Attention) ขั้นที่ 3 ขั้นพากเพียรรู้ปัญหา (P=Problem Topic) หรือขั้นทุกข์ ขั้นที่ 4 ขั้นศึกษาสาเหตุและไตร่ตรอง (C = Cause Analysis) หรือขั้นสมุทัย ขั้นที่ 5 ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (E = Experimental) หรือขั้นนิโรธ ขั้นที่ 6 ขั้นเพิ่มพูนปัญญา (D = Data Analysis ) หรือขั้นมรรค ขั้นที่ 7 ขั้นนำวิชาไปใช้จริง (U = Using) 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.69/82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 และผลการทดสอบวัดกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.54
4.2 ครูมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.52
4. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ RAPCEDU MODEL ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.51