ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา
ผู้ศึกษา นางกนกภรณ์ รัตนยิ่ง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัย พื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ประชากรที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครูผู้สอน จำนวน 64 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมประชากรทั้งสิ้น จำนวน 72 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 269 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 269 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 538 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบบันทึกประเด็นระดมความคิด 3)แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 1 ชุด 4) แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของร่างรูปแบบฯ 5) แบบสัมภาษณ์การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 ชุด 6) แบบบันทึกข้อมูลการศึกษาดูงาน 7) แบบบันทึกการวิพากษ์รูปแบบ 8) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 9) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 3 ชุด 10) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 ชุด 11) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา
1.1สภาพปัญหาการดำเนินงานสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา จำแนกเป็นรายด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นและเส้นทางการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาที่เสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โดยภาพรวม เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจ จากความจงรักภักดี การเคารพเชื่อมั่น ศรัทธา เทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติตนตามรอยเบื้องพระยุคลบาท มีการยึดหลักการบริหารตามหลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาคนที่เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
1.3 ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา จากแรงบันดาลใจและเป้าหมายสู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร ชุมชน และปรับปรุงอาคารสถานที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
1.4 ผลการศึกษาดูงานโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) พบว่าโรงเรียนมีการส่งเสริมและมีการกำหนดเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา มีบริบทพื้นฐานทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน การจัดระบบการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารจัดการ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสร้างเครือข่ายและขยายผลอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
2.1 ผลการยกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) โดยใช้หลักการบริหารคุณภาพ PDCA การมีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน และร่วมคิดร่วมทำ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1) การเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2) น้อมนำหลักคิด ขั้นที่ 3) พิชิตกิจกรรม ขั้นที่ 4) นำสู่การเปลี่ยนแปลง ขั้นที่ 5) ร่วมแรงสร้างเครือข่ายและขยายผล
2.2 ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฏี ความเป็นไปได้และค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและมีความเป็นไปได้
2.3 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในรูปแบบที่กำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีการกำหนดรายละเอียดและขอบข่ายของงานที่เหมาะกับบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อการนำสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
3.1 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนได้ชัดเจนและมีความสมบูรณ์มากขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
3.2 ผลการประเมินคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ปีการศึกษา 2559 ในระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 269 คน โดยครูกลุ่มทะเบียนและวัดผลประเมินผล ผู้ปกครอง และเพื่อนนักเรียน ในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 95.79
3.3 สรุปผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) โดยภาพรวมมีผลการประเมินพฤติกรรมในระดับดีขึ้นไป จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 74.42 ซึ่งสูงกว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับมากทุกรายการ