เรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้
เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน : นางสาวแสงเดือน พิมพ์เสนา
หน่วยงาน : โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
ที่กำลังเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม4 รหัสวิชา ค32202 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม) จำนวนนักเรียน 35 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้รูปแบบการศึกษา One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม4 รหัสวิชา ค32202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และผลการศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.51/88.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7181 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.81 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 71.81
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.23 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.39 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.40 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.82 และเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยค่า t test พบว่า ค่า t = 28.30 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงกล่าวได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 (x̄ = 4.90) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 (S.D. = 0.35) และแต่ละรายข้อมีค่าน้อยกว่า 1.00 บ่งชี้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน