ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) สังกัดเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ผู้ศึกษา นางกนกภรณ์ รัตนยิ่ง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความสอดคล้อง และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมของอาคารสถานที่ ความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินงาน ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ ความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ ความเหมาะสมของกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ และความเพียงพอของงบประมาณ (3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผน กระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กระบวนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ และกระบวนการนิเทศ ติดตาม และตรวจสอบโครงการ (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับปริมาณของแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนา ปริมาณของกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ และ(5) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย บุคลากรในสถานศึกษา (ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักการภารโรง เจ้าหน้าที่ธุรการ และแม่ครัว) จำนวน 63 คน ผู้แทนชุมชน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 269 คน และนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 269 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 614 คน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) จากแนวคิดของ สตัฟเฟีลบีม เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะเวลาคือ 1) ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ 1-15 พฤษภาคม 2559 2) ระหว่างดำเนินโครงการ 20-28 ธันวาคม 2559 และ3) หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ 16-30 มีนาคม 2560 โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ แบบประเมินคุณภาพผู้เรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จำนวน 3 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 3 ฉบับ แบบบันทึก และแบบสำรวจ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (μ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ค่าความถี่ (ƒ) และค่าร้อยละ (%)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ ความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ ความเหมาะสมของกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ความเหมาะสมของกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ความพร้อมของอาคารสถานที่ ความพร้อมของปัจจัยในการดำเนินการ ความพร้อมด้านบุคลากร และความเพียงพอของงบประมาณ
3. ผลการประเมินประเด็นด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ กระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผน กระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กระบวนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ และกระบวนการนิเทศ ติดตาม และตรวจสอบโครงการ
4. ผลการประเมินประเด็นด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด คือ ปริมาณแหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 100 ปริมาณการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 97.56 ปริมาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.02 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการเป็นคนดี คนเก่ง และเป็นคนมีความสุขผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 89.22 ผลการประเมินตามความคิดเห็น และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการสังเคราะห์และสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียน พบว่า
1) ปัญหาด้านบริบท คือ ช่วงระยะเวลาที่จัดโครงการสั้นเกินไป ไม่มีความต่อเนื่อง และกิจกรรมบางช่วงไม่เหมาะสม แนวทางแก้ไข คือ ขยายเวลาในการจัดโครงการและวางแผน การดำเนินงานของบุคลากรร่วมกัน
2) ปัญหาด้านปัจจัยเบื้องต้น คือ คณะทำงาน งบประมาณ และอุปกรณ์การจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ สถานที่คับแคบ และการสรรหาวิทยากร แนวทางแก้ไข คือ วิเคราะห์ผลการรายงานของกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ภาระงานและแต่งตั้งคณะทำงานให้สมดุล และวางแผนขอความอนุเคราะห์งบประมาณเพิ่มเติมจากภาคเอกชน
3) ปัญหาด้านกระบวนการดำเนินงาน คือ การตรวจสอบการดำเนินโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการขาดประสบการณ์ แนวทางแก้ไข คือ ควรเร่งรัดให้มีการรายงานผลโครงการ จัดหาที่ปรึกษาให้กับคณะทำงาน วิเคราะห์ปัญหาและจัดประชุมบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม ทุกด้าน
4) ปัญหาด้านผลผลิต คือ นักเรียนไม่พึงพอใจสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรม ปัญหาด้านระเบียบวินัย การรักษาความสะอาดและการประหยัด และกิจกรรมไม่มีความหลากหลาย แนวทาง แก้ไข คือ วางแผนการใช้และตกแต่งสถานที่ให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพิ่มกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้น และจัดประชุมผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการเพื่อหา แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการในระยะยาว