บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนครูวิชาการและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 16 รวมจำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของรูปแบบการเรียนรู้และความตรงตามเนื้อหาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จำนวน 1 คน และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 30 คน ครั้งที่ 2 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 36 คน และที่ 3 การทดลองภาคสนาม (Field Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 36 คน รวมจำนวนนักเรียน 102 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 138 คน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน และผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย
ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถามความพึงพอใจ
การวิเคราะห์และสถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพ ใช้สูตร E1/E2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test) แบบไม่อิสระ (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ได้ข้อสรุปว่า นักเรียนขาดนิสัยรักการอ่าน และเมื่อนักเรียนอ่านเรื่องแล้วไม่เข้าใจเนื้อเรื่อง อ่านไม่เข้าใจในสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถตอบคำถาม จับประเด็นสำคัญ สรุปความ คิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน และสรุปความรู้และข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไม่ได้ ไม่มีนิสัยรักการอ่าน นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อหนังสือ ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ความคิดอย่างเป็นขั้นตอน มีปัญหาในการเชื่อมโยงความรู้ เขียนสื่อความจากเรื่องไม่ได้ อีกทั้งยังมีปัญหาคือครูผู้สอนขาดการนำสื่อการเรียนการสอนที่สามารถสร้างและเร้าความสนใจในการเรียน มาใช้จัดการเรียนรู้และขาดการจัดการเรียนรู้จากเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนในเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นตนเอง ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และนำเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนได้เรียนหรือทำงานร่วมกันและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มความสามารถและควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนในเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นตนเอง ผลการสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องพบว่าสาระที่ควรปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน คือสาระการอ่าน ผลการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบได้ข้อสรุปว่าทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus
2. ผลพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ หลักการและวัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ และ ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบกระบวนการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้สู่การคิด มีกิจกรรมย่อย 3 ขั้น ดังนี้ 1) กิจกรรมก่อนอ่าน 2) กิจกรรมระหว่างอ่าน 3) กิจกรรมหลังอ่าน ขั้นที่ 3 กิจกรรมร่วมกันเรียนรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล และมอบรางวัล ผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดสอบภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมเท่ากับ 83.37/84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสูงขึ้นโดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.65/83.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 ความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่านหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้รูปแบบนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และ
จากผู้เกี่ยวข้องโดยการวิพากษ์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีผลคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน