การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหมาก ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนาเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ในการจัดทาโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ( % ) และค่าเฉลี่ย ( ) ผลการประเมิน พบว่า X
1. ผลการกาหนดกรอบแนวคิด จากการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ได้กำหนดค่าน้าหนักของประเด็นและตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ คือ
1.1 ด้านบริบท 10 % ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความต้องการจาเป็น ของโครงการ 3% ความเป็นไปได้ของโครงการ 4% และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ 3%
1.2 ด้านปัจจัยนาเข้า 20% ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ บุคลากร 6% สื่อวัสดุอุปกรณ์ 5% งบประมาณ 5% และรูปแบบการจัดกิจกรรม 4%
1.3 ด้านกระบวนการ 30% ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ การบริหารโครงการ 8% การจัด กิจกรรม 8% และการนิเทศ ติดตาม 7% การสรุปและประเมินผล 7%
1.4 ด้านผลผลิต 40% ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน 8% ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7% ความพึงพอใจ ของผู้ปกครองนักเรียน 7% รางวัลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่นักเรียนและหรือโรงเรียนได้รับ 8 % และ ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 10%
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีผลการประเมินด้านบริบทในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทั้ง 3 ตัว โดยผลการประเมินตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัว คือ ความต้องการจาเป็น ของโครงการ (4.44) ความเป็นไปได้ของโครงการ (4.38) ส่วนอีก 1 ตัวชี้วัด คือ ความสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์โครงการ (4.21) ได้ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนาเข้า พบว่า มีผลการประเมินในด้านปัจจัยนาเข้าในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผลการประเมินตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก 3 ตัวชี้วัด คือ รูปแบบ การจัดกิจกรรม (4.16) บุคลากร (3.96) สื่อ วัสดุอุปกรณ์ (3.88) ตามลาดับ ส่วนอีก 1 ตัวชี้วัดคือ งบประมาณ (3.63) อยู่ในระดับปานกลาง
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีผลการประเมินด้านกระบวนการในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยผลการประเมินทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก คือ การสรุป และประเมินผล (4.13) การนิเทศ ติดตาม (3.97) การจัดกิจกรรม (3.96) และการบริหารโครงการ (3.88) ตามลาดับ
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินด้านผลผลิตในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ตัวชี้วัด คือผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน (5.00) รางวัลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่นักเรียนและหรือโรงเรียนได้รับ (5.00) ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน (4.55) ส่วนอีก 2 ตัวชี้วัด คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน (4.29) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.21) อยู่ในระดับมาก
6. ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหมาก สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยผลของการดาเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 85.60 คะแนน เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า ผ่านการประเมินเช่นเดียวกัน ซึ่งผลการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ในประเด็นด้านบริบท และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัยนาเข้าและด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก