ชื่อเรื่องวิจัย การจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์จิรา พิทักษ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา 2) เพื่อศึกษาผลของการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา
ประชากร เป็นนักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และบุคลากรของโรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา ในปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย 1) บุคลากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 43 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน 3) นักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จำนวน 570 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จำนวน 570 คน กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้คัดเลือกจากประชากร ดังนี้
1) บุคลากรโรงเรียน จำนวน 43 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จำนวน 13 คน 3) นักเรียนของโรงเรียน จำนวน 386 คน 4) ผู้ปกครอง จำนวน 386 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 98 คน ดังนี้ 1) ผู้ปกครอง จำนวน 42 คน
2) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน 3) บุคลากรโรงเรียน จำนวน 43 คน
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมี 9 ฉบับ คือ (1) แบบสัมภาษณ์ 5 ฉบับ (2) แบบสอบถาม 2 ฉบับ (3) แบบบันทึก 1 ฉบับ และ (4) แบบสังเกต 1 ฉบับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อกับจุดประสงค์ หรือ เนื้อหา (Index of Item Objective Congruence หรือ IOC) อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ คือมากกว่า 0.5 ขึ้นไป และตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach) หรือหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าอัลฟ่าทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.851 - 0.953 เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วได้ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตตรวจสอบ (Observation ) และการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดย การพัฒนาในวงจรรอบที่ 1 เมื่อดำเนินการปฏิบัติครบทุกกิจกรรมแล้ว พบว่ากลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจแต่ยังมีปัญหาที่จะต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษา 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษา 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการการวัดผลประเมินผลที่เน้นเรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ครูมีความรู้ความสามารถเขียนแบบทดสอบ หรือเครื่องมือวัดผลอื่น ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ
4) การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC) เรื่อง การจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้นำผลสะท้อนการปฏิบัติดังกล่าวไปสู่การพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วพบว่า การดำเนินงานการจัดเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้านบรรลุตามเป้าหมายของกิจกรรม
2) ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 4.29) โดยมีผลการดำเนินงานรายด้านจัดเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) การจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.72) (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ( = 4.31) (3) ด้านการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ( = 4.29) (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.19) (5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.01)
3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน รวมเฉลี่ยทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.02) โดยพิจารณาในรายละเอียดจัดเรียงจากมากไปหาน้อย คือ (1) การจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.11) (2) การพัฒนาหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ( = 4.06) (3) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05) (4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 3.94)
(5) การใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก ( = 3.92)