ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนดิจิตอลโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่อาเซียน โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
ผู้ประเมิน นายอโณทัย บัวขัน
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการห้องเรียนดิจิตอลโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่อาเซียน โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ดังนี้ 1) ด้านบริบท (C : Context Evaluation) 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (I : Inputs Evaluation) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) 4) การประเมินด้านผลผลิต (P : Products Evaluation) 5) การประเมินด้านผลกระทบ (I : Impact Evaluation) 6) การประเมินด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation) 7) การประเมินด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) 8) การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน ครู จำนวน 31 คน นักเรียน จำนวน 217 คน ผู้ปกครอง จำนวน 217 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 478 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า จำนวน 28 ข้อ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามด้านกระบวนการ จำนวน 22 ข้อ ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามด้านผลผลิต จำนวน 26 ข้อ ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามด้านผลกระทบ จำนวน 8 ข้อ และฉบับที่ 5 เป็นแบบสอบถามด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายโยงความรู้ จำนวน 15 ข้อ รวมทั้งสิ้น จำนวน 99 ข้อ และแบบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 , 0.86 , 0.87 , 0.96 และ 0.91 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 4 ข้อ
ผลการประเมินพบว่า
1.ผลการประเมินด้านบริบท (C : Context Evaluation) ของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (I : Inputs Evaluation) ของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลประเมินด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) ของโครงการ ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินด้านผลผลิต (P : Products Evaluation) ของโครงการ ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5.ผลการประเมินด้านผลกระทบ (I : Impact Evaluation) ของโครงการ ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
6.ผลการประเมินด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation) ของโครงการ
ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
7.ผลการประเมินด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) ของโครงการ
ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
8.ผลการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation) ของ
โครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด