ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุใน
ท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะงานประดิษฐ์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางอัมพร เอียดวงศ์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุในท้องถิ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน 3)เพื่อประเมินทักษะงานประดิษฐ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1)เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ จำนวน 6 แผน รวมเวลาที่ใช้ในการทดลอง 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน 4) แบบวัดทักษะการประดิษฐ์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า T (t-test แบบ Independent)
สรุปผล
จากการวิจัยสามารถสรุปผล ได้ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.93/84.76 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินคิดเป็นร้อยละ 83.33 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินทักษะปฏิบัติ อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการ
เรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( )=4.60, S.D.=0.51)