รายงานการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound)
ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชา ว30202 ฟิสิกส์ 2 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ
5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่เรียนรายวิชา ว30202 ฟิสิกส์ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ว30202 ฟิสิกส์ 2 ภาคเรียนที่ 1 เรื่อง เสียง (sound) จำนวน 8 แผน 2) ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นทั้งหมด 8 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายวิชา ว30202 ฟิสิกส์ 2 เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน
30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) รายข้อตั้งแต่ .25 ถึง .76 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบที่กำหนดสถานการณ์มาให้ 10 สถานการณ์ ในแต่ละสถานการณ์มีข้อสอบอยู่ 3 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) รายข้อตั้งแต่ .47 ถึง 0.67 มีค่าอำนาจจำแนก (r) รายข้อตั้งแต่ .33 ถึง .73 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และ 5) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.62 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .87 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ttest แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.08/76.30
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชา ว30202 ฟิสิกส์ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ค่าเท่ากับ 0.5869 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนในการเรียนเพิ่มขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 58.69
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
เรื่อง เสียง (sound) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์โจทย์ฟิสิกส์สูงขึ้นจากก่อนเรียน สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้เป็นขั้นตอน
ตามหลักการแก้ปัญหา และมีความพึงพอใจต่อการเรียนมากขึ้น ดังนั้น ครูฟิสิกส์จึงสามารถนำ
ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เหล่านี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของนักเรียนแต่ละคนเพื่อให้นักเรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่วางไว้