บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและ
การป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคุณภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ที่กำลังศึกษาใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพราะนักเรียนได้เล่นปนเรียน มีเกมที่สนุกสนานท้าทายมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตัวเองและผู้สอนเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลายไม่น่าเบื่อ มีสื่อที่น่าสนใจ รูปภาพสื่อความหมายได้ตรงกับเนื้อเรื่อง และมีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเป็นการท้าทายความสามารถของนักเรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า ACEGPE Model มีองค์ประกอบ คือ
ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Attention)
2) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction) 3) ขั้นอภิปรายความรู้ (Explain) 4) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (Group activities) 5) ขั้นนำเสนองาน (Presentation) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้
จากสื่อที่หลากหลาย ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำใบกิจกรรม เนื้อหามีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้นักเรียนเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและ
การป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 76.67/74.44 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.00/78.15 และจากการทดลองภาคสนาม เท่ากับ 83.08/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 47 คน ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.35/82.48 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นถึงความเหมาะสมของการรับรองขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี การสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ผลการประเมินสุขภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทุกข้อมีผลการประเมินในระดับดี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก