ชื่อผู้ศึกษา นายอภิรักษ์ อติพลอัครพันธุ์ ครู โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี
สำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาหนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนด้วยหนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี ต่อหลังจากการใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 หลวงพ่อแช่ม เล่มที่ 2 วัดฉลอง เล่มที่ 3 พระผุด เล่มที่ 4 สองวีรสตรีเมืองถลาง และเล่มที่ 5 พระนางเลือดขาว 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี จำนวน 5 แผน ใช้เวลาจัดการเรียนรู้แผนละ 3 ชั่วโมง และแผนการสอนปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ 2 ชั่วโมง รวม 17 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่านจับใจความสำคัญ หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน 36 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre – Test) แล้วเริ่มต้นการดำเนินการทดลองใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน จำนวน 30 ข้อ เมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหนังสืออ่านเสริมบทเรียนให้ทำการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เล่มละ 10 ข้อ รวม 50 ข้อ แล้วจึงทำการทดสอบหลังเรียน (Post - Test) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และทำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
จากการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1. หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตมีประสิทธิภาพ เท่ากัน 81.11/80.19 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตต่อหลังจากการใช้หนังสืออ่านเสริมบทเรียน ชุดเรื่องเล่าพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.73)