ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางณัฐิฎา มุสิกวงศ์
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน 4) ศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทีมีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง
จังหวัดพัทลุง จำนวน 45 คน ได้มาโดยการการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการศึกษาครั้งนี้ เป็นการดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างวันที่ 3 - 30 พฤศจิกายน 2560 รวม 15 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมการปฐมนิเทศ และการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ชุด 2) คู่มือการสอนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน จำนวน 15 แผน
โดยแต่ละแผนการสอนใช้เวลาในการสอน จำนวน 1 ชั่วโมง รวมเป็น 15 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.92 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานใช้ t test for dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน
มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 87.54/82.23 ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน มีคะแนนหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอน
มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.4457 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 44.57
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกระบวนการคัดสรรกลวิธีการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62,S.D.= 0.55) โดยนักเรียนมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4 ข้อ คือ ด้านเนื้อหา 2 ข้อ ได้แก่ เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไป และเรื่องที่เรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2 ข้อ ได้แก่ ฉันพอใจที่ได้เลือกวิธีการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และฉันได้ฝึกทักษะต่างๆ จนมีความมั่นใจ และกล้าแสดงออก นอกจากนั้นนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด