บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง
3) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง ใช้กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทำการศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้าน
ท้ายช้าง เนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง เศษส่วน ทำการศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2559 2560 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องเศษส่วน
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง วิเคราะห์หาคุณภาพค่าระดับความยากของแบบทดสอบ (p) และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ (r) ที่มีค่าตั้งแต่ .20 ถึง .80 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach)
การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง คือ นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจ อีกทั้ง ครูยังขาดการอธิบายและยกตัวอย่างให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอยู่น้อย และไม่เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมฝึกทักษะ นอกจากนี้กิจกรรมการเรียน
การสอนยังขาดสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
2. รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง หรือเรียกว่า JARIN Model ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1
ขั้นกระตุ้นการเข้าสู่บทเรียน (Joint to class) ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลความรู้ (Access & Active) ขั้นที่ 3
ขั้นทบทวนความรู้เดิมและฝึกฝน (Revise & Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินและปรับปรุง (Improvement & Evaluation) และขั้นที่ 5 ขั้นตกผลึกความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้จริง (New Approach & Applying)
3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง มีประสิทธิภาพ 88.77/82.70 ภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง
ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจากคะแนนการทดสอบหลังเรียนเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานที่ตั้งไว้คือ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด