ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู ในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียง แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย นางปทิตตา ไมรินทร์
ปีที่ทำการวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียง แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียงแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียงแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้ 2.1) ความสามารถของครูในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช 2.2) ความสามารถของครูในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช 2.3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2.4) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 2.5) ความสามารถของครูในการเขียนโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2.6) ความสามารถของครูในการปฏิบัติงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช 2.7) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2.8) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น 2.9) คุณลักษณะพอเพียงของนักเรียน 2.10) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อที่มีต่อการการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
ประชากรคือ ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย 3 คน ครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย 30 คน ศึกษานิเทศก์ประจำสำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จำนวน 182 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 173 คน รวมประชากรจำนวน ¬404 คน เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D:Research and Development) ในลักษณะของการผสมผสานวิธี (Mixed Methods) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียงแก่นักเรียน 2) แบบสำรวจเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการ ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะพอเพียงของโรงเรียน 3) แบบตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น 4) แบบตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างคู่มือการใช้รูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น 5) แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการ ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 6) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 7) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 9) แบบประเมินโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช 10) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 11) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 12) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น 13) แบบประเมินคุณลักษณะพอเพียงของนักเรียน ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม และด้านการมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดี ปรับตัวอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข 14) แบบประเมินพัฒนาการคุณลักษณะพอเพียงของนักเรียนด้านความรู้และด้านทักษะปฏิบัติ 15) ประเด็นการสนทนากลุ่มของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ เกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)) ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียงแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อว่า ADPSA MODEL ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ความรู้และความตระหนัก (A:Acknowledging) 2) ประเด็นการพัฒนา (D:Defining Goals) 3) นำความรู้ไปใช้ (P:Performing) 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (S:Sharing) 5) การประเมินผล (A:Assessing) มีองค์ประกอบในการพัฒนาคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การนำผลการอบรมไปใช้ปฏิบัติการจริงในการสอนปกติและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ตนรับผิดชอบ และการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล
2. รูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการปลูกฝังคุณลักษณะพอเพียงแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
2.1 ครูมีความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดัอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้อยู่ในระดัอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการวัดผล/ประเมินผลอยู่ในระดัอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ความคิดเห็นที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 ครูมีความสามารถในการเขียนโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดย บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่ในระดับมากที่สุด
2.6 ครูมีความสามารถในการปฏิบัติงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่ในระดับมากที่สุด
2.7 ความคิดเห็นที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด
2.8 ความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.9 คุณลักษณะพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับดีเยี่ยม
2.10 ผลการประเมินพัฒนาการคุณลักษณะพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับดีเยี่ยม
2.11 ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อพัฒนาการการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านความรู้ความเข้าใจของครู อยู่ในระดับมาก
2.12 ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อพัฒนาการการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านทักษะปฏิบัติของครู อยู่ในระดับมากที่สุด