ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการ
คิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางอรุณรัตน์ รอดสม
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาลักษณะความสำคัญในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และศึกษาความต้องการของครู ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จากนั้นตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ นำแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญไปทำการศึกษานำร่องแบบภาคสนาม พร้อมทั้งหาประสิทธิภาพแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำร่องมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) มาจำนวน 1 ห้องเรียน เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 18 ชั่วโมง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบจำนวน 9 แผน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยพิจารณาจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดการเรียนการรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.52, S.D. = .14) และมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.63, S.D. = .09)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อเรียกว่า PPAEL Model มีองค์ประกอบดังนี้ 1) ทฤษฎี / หลักการ/ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ (3.1) ขั้นตระหนักปัญหา (Problem Orientation) (3.2) ขั้นการกำหนดหรือระบุปัญหา (Problem Finding) (3.3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analysis) (3.4) ขั้นเสนอวิธีการแก้ปัญหา (Exploring Strategies) (3.5) ขั้นตรวจสอบวิธีการและประเมินผล (Looking) 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ
5) การประเมินผลรูปแบบ รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 4.38, S.D. = .14) และ
มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.22/80.31 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
(X = 4.51, S.D. = .10)