บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E
และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายโชคชัย จันทร์ดาประดิษฐ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1 วัดคำสายทอง) อำเภอเมืองมุกดาหาร
สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองมุกดาหาร
ปีที่ศึกษา 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) สร้างและพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบ
การสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ 1 เล่ม
เวลาเรียน 19 ชั่วโมง (2) แบบฝึกทักษะ 19 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางกางเรียน จำนวน
30 ข้อ และ (4) แบบวัดความพึงพอใจ 20 ข้อ ที่นำมาใช้กับนักเรียนโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1
วัดคำสายทอง) อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกกาหาร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มแบบอย่างง่ายโดยจับสลากรายชื่อห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การพรรณนาวิเคราะห์
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าประสิทธิผล และทดสอบค่า t (Dependent samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา พบว่า เนื้อหาที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ
หน่วยที่ 11 เรื่อง บทประยุกต์ มากที่สุด ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ขาดปัจจัยซื้อหนังสือเสริมประสบการณ์ ครูส่วนใหญ่สอนไม่ตรงสาขากับวิชาเอก ร้อยละ 70 มีภาระสอนมากเกิน 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีงานพิเศษค่อนข้างมาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูควรมีการพัฒนา
การสอนโดยนำรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และสื่อแบบฝึกทักษะมาใช้ เพราะกระบวนการเรียนรู้และแก้โจทย์ปัญหาเป็นระบบ และขยายความรู้ด้วยสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมที่ดี
2. การสร้างและการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการของรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E และการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้ด้วยรูปแบบการสอน พบว่า (1) การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.19/76.67 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 จึงควรนำไปปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการสอน (2) การทดลอง
แบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.70/79.63 เท่ากับเกณฑ์ 80/80 ควรปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง
(3) การทดลองแบบภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.88/82.62 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และ
บทคัดย่อ (ต่อ)
(4) การพัฒนากับกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.86/84.58 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 76.77 เท่ากับเกณฑ์ 70 หรือ มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับดี
3. ผลเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนหลังเรียนเฉลี่ยรวมและทั้ง 19 เรื่อง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการสอน
สืบเสาะหาความรู้ 5E และใช้แบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการได้รับความรู้จากการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ทุกด้าน