รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม
ของ โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
นายจักรกฤษณ์ นนทโคตร/ผู้วิจัย/2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อทดลองใช้ และประเมินรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ
1) ศึกษาปัญหาการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูจำนวน 35 คน ผู้ปกครอง จำนวน 75 คน รวมจำนวน 112 คน ซึ่งได้โดยการเลือกแบบเจาะจง จำแนกระดับชั้นในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
2) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมโดยการสังเคราะห์ความคิดเห็นการประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เนื้อหา
3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยทดลองใช้กับประชากรนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 550 คน
4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยการประเมินความพึงพอใจจาก ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ดำเนินการใช้รูปแบบการพัฒนา จำนวน 37 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาการการพัฒนางานกิจการนักเรียนสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านส่งเสริมสุขภาพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีปัญหาการพัฒนางานมากอันดับ 1 คือ ด้านความรับผิดชอบ อันดับ 2 คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และอันดับ 3 คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2) รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านส่งเสริมสุขภาพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ต้องกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นระบบ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีรูปแบบการดำเนินงานที่ได้สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนา เป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1. ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 ขั้นศึกษาเรียนรู้ ขั้นที่ 3. ขั้นพัฒนา และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล
3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านส่งเสริมสุขภาพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความตระหนัก ผู้บริหาร ครู วางแผนกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผลร่วมกับครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดของสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นศึกษาเรียนรู้ จัดอบรมครู นักเรียนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านคุณธรรมจริยธรรม ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนา ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามสภาพปัญหา ครูผู้สอนกำหนดรูปแบบ ในการวัดประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ชัดเจน จัดทำบันทึกพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล ครูรายงานปัญหาพฤติกรรมเป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง และนำผลการพัฒนามาแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4) การประเมินรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม มีผลประเมินเป็นที่พึงพอใจอันดับ 1 คือ ด้านความรับผิดชอบ อันดับ 2 คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม อันดับ 3 คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันดับ 4 ด้านส่งเสริมคุณภาพ และอันดับ 5 คือด้านระเบียบวินัย
----------------------------------------------------------------