ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเคมีเพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายเฉลิมฤทธิ์ สมพงษ์
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประทาย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทาย มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการคิด โดยเฉพาะการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การปฏิบัติงานกิจกรรม การแก้ปัญหาที่ได้มาจากกระบวนการเรียนรู้ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ อ่านออก (Reading) เขียนได้ (Writing) และ คิดเลขเป็น (Arithmetic) ทักษะการเรียนรู้ 7C ประกอบด้วย 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา 2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ 4) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ 5) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ 6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แล 7) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สิ่งสนับสนุน และ องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญในการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมของกลุ่ม (Social Group) ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหา (Identifying the problem) ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบ วางแผนแก้ปัญหา (Solution Design) ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา (Development) ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงานด้วยสื่อเทคโนโลยี (Presentation) ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผล และปรับปรุง (Evaluation and Improvement) ขั้นตอนที่ 7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.37/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเคมีเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.71 , S.D. = 1.41)