บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองบัวเขาดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครู จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 32 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 47 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งต้องอาศัยทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า เกี่ยวกับการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโรงเรียนหนองบัวเขาดิน จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย
( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองบัวเขาดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองบัวเขาดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต
2. การประเมินบริบท ผลการประเมินพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ หลักการและเหตุผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์สอดคล้อง และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการของโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
3. การประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่ามีความเพียงพอ เหมาะสม อยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม และเพียงพอ ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ มีความเหมาะสม เพียงพอ และความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมปุ๋ยหมักชีวภาพ
4. การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ย จากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน การประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม และการกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจน
5. การประเมินผลผลิต ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ผลการดำเนินกิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทำให้โรงเรียนมีแหล่ง เรียนรู้เกี่ยวกับการพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโรงเรียน กิจกรรมสมุนไพรพื้นบ้าน ทำให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่นของตนเองกิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทำให้นักเรียนรู้จักพืชสวน ครัวชนิดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบอาหาร และกิจกรรมออมทรัพย์ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการออมและประโยชน์จากการออม
ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองบัวเขาดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 เพื่อให้การการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองบัวเขาดิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ ดังนี้
1. ผู้รับผิดชอบโครงการต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างความตระหนักให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อผู้เรียนในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันอย่างมีสติ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
2. ด้านบริบท จากผลการประเมินพบว่า ข้อที่ 8 วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ มุ่งทำให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ดังนั้นในการจัดทำโครงการผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการในด้านคุณลักษณะนิสัยแบบพอเพียง
3. ด้านปัจจัยนำเข้า จากผลการประเมินพบว่า ข้อที่ 5 งบประมาณที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ จึงควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ทั้งนี้เพื่อจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกระดับผู้นำชุมชน ผู้นำส่วนท้องถิ่นและองค์กรเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างทุนท้องถิ่นให้เกื้อหนุนซึ่งกันและกันลดภาระงบประมาณของโรงเรียนให้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านอื่นที่จำเป็นเร่งด่วน
4. ด้านกระบวนการดำเนินงาน จากผลการประเมินพบว่า ข้อที่ 5 กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ไม่สูงจนเกินขีดความสามารถและมีการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้มีการประเมินตนเองเป็นระยะๆเพื่อรู้จุดที่ยืน และพัฒนาต่อเนื่องโดยให้ผลย้อนกลับเพื่อพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์ต่อเนื่องมากที่สุด
5. ด้านผลผลิต จากผลการประเมินพบว่า ข้อที่ 8 ผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้นักเรียนรู้จักสมุนไพรที่ใช้ในครัวเรือนของตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกข้อ ควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติมให้นักเรียนรู้จักคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยที่หายไปจากสังคมให้กลับมาสู่ชุมชน รู้รักสุขภาพจากการกินอาหารไทยที่ปรุงจากพืชสมุนไพรในครัวเรือนที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชุมชนสนใจ
2. การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนให้มีความพร้อมต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้