การรายงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้
กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านสร้างแป้น อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/85.00
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ผลการหาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิผล เท่ากับ 0.63 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 0.50 ขึ้นไป
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตามแนวทฤษฎีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้ มีความพึงพอใจในระดับมาก