ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2ผู้รายงาน นางศิริวรรณ ลันละนา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้องข่าหนองเสือตาย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ปีที่ศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา คือ 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้องข่าหนองเสือตาย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยาก (Difficulty index) และค่าอำนาจจำแนก (Discrimination)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 78.22 / 78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่กำหนดไว้ในเบื้องต้น
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.5651 และมีค่ามากกว่า 0.50 ถือว่า สามารถนำชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ไปใช้ได้อย่างเกิดประสิทธิผล (กรมวิชาการ, 2540 : 58) แสดงว่านักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพิ่มสูงขึ้น 0.5384 หรือคิดเป็นร้อยละ 53.84
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้องข่าหนองเสือตาย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 นักเรียนมีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) แตกต่างจากคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( x̄= 23.50) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄ = 15.92)
4. กเรียนที่เรียนด้วยด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียน ในระดับมาก ( x̄= 4.26, S.D.= 0.66)
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาที่ 2 ฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้รายงานต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนสนับสนุน ให้การศึกษาค้นคว้า ในครั้งนี้ ให้ดำเนินมาได้โดยราบรื่น และสมบูรณ์ นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการศึกษา
ขอขอบพระคุณที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ที่กรุณาช่วยตรวจสอบคุณภาพและ ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เพื่อให้การศึกษาบรรลุตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้
ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้องข่าหนองเสือตาย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ที่ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการศึกษาในครั้งนี้
ขอขอบคุณคณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนบ้านห้องข่าหนองเสือตาย ที่มีส่วนช่วยเหลือในการศึกษาและจัดทำผลงานทางวิชาการในครั้งนี้
ศิริวรรณ ลันละนา