ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน
ผู้รายงาน นางสาวกรกนก ถังมาส ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนเทศบาล 5 สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน และ 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 5 สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการวิธีการสุ่มแบบกล่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2)หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.69 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.83 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 4)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Dependent Sample) ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.66 / 82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80 / 80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6680 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 66.80
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเภทนิทาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด