บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา : พชร ศิละวรรณโณ
ปีการศึกษา : 2560
รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชบ้านดง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 12 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ
วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้สูตร E1/E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากที่ได้เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนโดยเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 เท่ากับ 89.13/84.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศิษย์เก่าพยาบาล ศิริราชบ้านดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.74 และก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.63 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.06
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักกาดกวางตุ้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (= 4.56,  = 0.18)